วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มีนวิทยา ปลาจาระเม็ด

ชื่อไทย
จะละเม็ดขาว, แป๊ะเซีย
ชื่อสามัญ
SILVER POMFRET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pampus argenteus (Euphrasen)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นหน้าดินที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนโคลน อยู่รวมกันเป็นฝูง บางครั้งเข้าไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย พบแพร่กระจายในอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะอ่างทอง จะมีปลาชนิดนี้อยู่อย่างชุกชุม และในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ปลาจะระเม็ด ปลาทะเลอันโอชะที่มีลำตัวป้อมสั้นเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวป้อมสั้น ครีบหลังและก้นมีความยาวเกือบเท่ากัน
ลักษณะภายนอกและอวัยวะภายในของปลา
(External features and internal anatomy of fish)
ปลาจัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่มีวิวัฒนาการต่ำที่สุดในกลุ่มนี้ ดังนั้นลักษณะของปลาจึงเป็นลักษณะที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังในเวลาต่อมา ปลาจะต้องอาศัยอยู่ในน้ำ หรือมีช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตต้องอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก มีระบบเลือด เป็นระบบเลือดเย็น คือต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามสภาพของสิ่งแวดล้อมมีครีบคู่ ครีบเดี่ยว ว่ายน้ำด้วยครีบ มีสิ่งปกคลุมลำตัวเป็นเกล็ดหรือเมือก ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นการผสมพันธุ์ภายนอกร่างกาย และยังมีลักษณะเฉพาะมีหลายอย่าง
ด้วยการที่ปลามีจำนวนชนิดมากไม่น้อยกว่า 25,000 ชนิด จึงทำให้มีแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน การกินอาหารแตกต่างกัน การสืบพันธุ์ การว่ายน้ำ การหายใจ และอื่นๆที่แตกต่างกัน ดังนั้นปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้รูปร่างลักษณะของปลามีความแตกต่างกัน

มีนวิทยา ปลาจาระเม็ด

ลักษณะภายนอก
จมูก snout ปาก mouth
ตา eye ครีบหลัง dorsal fin
ครีบหาง caudal fin ครีบก้น anal fin
ครีบอก pectoral fin เส้นข้างลำตัว lateralline
ลักษณะภายใน
หัวใจ heart เป็นก้อนสีแดงเข้ม อยู่บริเวณอกด้านในของเหงือก
ตับ liver จะเป็นพูใหญ่สีเหลืองเห็นได้ชัดเจนมักจะอยู่เหนือหัวใจ
ถุงน้ำดี gall bladder เป็นถุงเล็กเป็นทรงกลมรูปร่างกลม
ตับอ่อน pancreas เป็นอวัยวะสีเหลืองอ่อน
ม้าม spleen มีสีแดงเข้มมีขนาดเล็กติดอยู่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย
กระเพาะ stomach เป็นอวัยวะค่อนข้างใหญ่เห็นได้ชัดเจนอยู่บริเวณใกล้กับตับ
ลำไส้ intestines สำไส้ใหญ่ large intestine ลำไส้เล็ก small intestine
รังไข่ ovaryพบในปลาเพศเมีย มีลักษณะเป็นฝักคู่ทอดขนานตามความยาวของช่องท้องด้านบน
อัณฑะ testisพบในปลาเพศผู้ ในตำแหน่งเดียวกับรังไข่
ไต kidney มีสีแดงเข้ม เป็นคู่ทอดตามยาวเหนือช่องตัวติดใต้กระดูกสันหลัง
กระเพาะลม gas-bladderพบในปลากระดูกแข็งบางชนิด เป็นถุงสีขาวนวลเหลือบเงาทอดอยู่ด้านบนตามยาวของช่องตัว มีท่อติดต่อกับทางเดินอาหารเรียกท่อนิวมาติค (Pneumatic Duct)

มีนวิทยา ปลาจาระเม็ด

ลักษณะทั่วไป
(General morphology)
ปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่สามารถเคลื่อนไหวในน้ำได้อย่างมีอิสระ ในการเคลื่อนไหวนั้นปลาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นรูปร่างของปลาจึงเป็นส่วนในการเคลื่อนที่ แต่ละชนิดจะถูกออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมในการดำรงชีวิตในแต่ละสภาพแวดล้อม การกินอาหาร จำนวนศัตรู เช่นปลากลุ่มที่หากินบริเวณผิวน้ำส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำเร็ว หรือเป็นรูปกระสวย ซึ่งจะแตกต่างกันกับปลาที่หากินอยู่ที่พื้นท้องน้ำส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปร่างอ้วนเทอะทะ เช่นปลากบ ปลาหิน เป็นต้น หรือแบนราบกับพื้นท้องน้ำ เช่นปลากระเบน ปลาลิ้นหมา เป็นต้น ว่ายน้ำช้าหรือชอบอยู่นิ่งๆรอจังหวะเวลาปลาเหยื่อว่ายน้ำเข้ามาใกล้ๆแล้วจึงจู่โจม ปลาที่อาศัยอยู่กลางน้ำส่วนใหญ่มีลำตัวค่อนข้างยาว สามารถว่ายน้ำเองอย่างรวดเร็วและเลี้ยวหักหลบได้เก่ง

มีนวิทยา ปลาจาระเม็ด

รูปทรงของปลาจาระเม็ดขาว
ปลาที่มีลำตัวกลม (Ovate) เป็นลักษณะของปลาที่มีรูปทรงที่ค่อนข้างกลม โดยมีความยาวต่อความลึกของปลาน้อยกว่าประมาณ 2 เท่า เช่นปาจาระเม็ด ปลาแป้น
ปาก (Mouth)
เป็นช่องเปิดที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่ในการรับอาหาร รับน้ำเพื่อการหายใจ ช่วยในการเกาะยึดบางชนิดใช้ในการต่อสู้ บางชนิดใช้ในการหาอาหาร ปากของปลาแตกต่างกันที่ตำแหน่ง ขนาด รูปทรง โดยเทียบขนาดกับความกว้างกับส่วนหัวส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้
ปากอยู่ด้านล่าง (Inferior mouth)
ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว เลยเข้ามาจากปากด้านหน้า ส่วนมากพบในปลากระดูกอ่อน กลุ่มปลาฉลามและปลากระเบน ปลาไส้ตัน และปลากุเรา ปลาเหล่านี้หากินตามพื้น

ระบบโครงกระดูก (Skeleton system)
โครงสร้างของร่างกายในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยที่เป็นกระดูกชนิดต่างๆ โนโตคอร์ด เนื้อเยื่อเกี่ยวกัน เกล็ด ฟัน ส่วนประกอบของระบบประสาท และก้านครีบ เพื่อทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.พยุงร่างกายให้คงรูปและมีความแข็งแรง
2. คุ้มกันสมอง ไขสันหลัง และอวัยวะภายในอื่นๆ
3. เป็นฐานยึดเหนี่ยวของกล้ามเนื้อ
4. ช่วยในการเคลื่อนไหว
5. เป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดสร้างเนื้อเยื่อ
ได้มีการแบ่งกระดูกของปลาออกเป็น 3 แบบ ตามตำแหน่งและหน้าที่ คือ
1.โครงกระดูกภายนอกหรือโครงกระดูกผิว (Exoskeleton หรือ skeleton) ได้แก่ เกล็ดปลา ก้านครีบ และแผ่นแข็งๆบนผิวหนัง
2.โครงกระดูกภายใน (Endoskeleton หรือ internal skeleton ) ได้แก่ กระดูกแกน และ
กระดูกกระยางค์
3.แผ่นเยื่อกระดูก (Membranous skeleton) ได้แก่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเนื้อเยื่อหุ้ม
กระดูกส่วนหัว skull แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ขากรรไกรบน และล่าง ส่วนที่พยุงขากรรไกรและกระดูกแก้ม
ชุดกระดูกขากรรไกรบนและล่าง















ได้แก่ premaxilla, maxilla ,articular, dentery, angular,
Opercular,interopercular,branchiostegel

กระดูกสันหลังด้านบน neural spine
กระดูกสันหลังด้านล่าง hemal spine